เมนู

2. ทุติยอาฆาตวินยสูตร


ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต 5 ประการ


[162] ครั้งนั้น ท่านพรสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดย
ประการทั้งปวง 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติ
ทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มี
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็น
ผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส
โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดย
กาลอันสมควร ภิกษุพึงรู้งับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบาง
คนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติ
วาจาบริสุทธิ์ และย่อมได้สงบทางใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล 5 จำพวกนั้น บุคคลใด เป็นผู้ความ
ประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุ

พึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร เห็นผ้าเก่าที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา
ส่วนใดเป็นสาระ ก็เลือกถือเอาส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด บุคคลใด
เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุ
พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างนี้.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่
บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความ
อาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้
บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาลงสู่สระน้ำนั้น แหวก
สาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้ว กอบน้ำขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด
บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา
ภิกษุไม่พึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใด
ของเขา ภิกษุพึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความ
อาฆาตในบุคคลนี้อย่างนี้.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่
บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ
ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างไร เหมือนอย่างว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยโค บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว
เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาพึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอย

โคนี้ ถ้าเราจะกอบขึ้นดื่มหรือใช้ภาชนะตักขึ้นดื่มไซร้ เราก็จักทำน้ำนั้นให้
ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่เป็นที่ควรดื่มบ้าง ถ้ากระไรเราพึงคุกกเข่าก้มลงดื่ม
น้ำอย่างโคดื่มน้ำแล้วหลีกไปเถิด เขาคุกเข่าก้มลงดื่มน้ำอย่างโคดื่มน้ำแล้วไป
แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มิความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจได้ความเลื่อมใสโดยกาล
อันสมควร ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึง
ใส่ใจส่วนนั้นสมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา
ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แต่การได้ทางสงบใจได้ความเลื่อมใส
โดยกาลอันสมควรส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนั้น.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่
บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ
ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างไร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เดินทางไกล
แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่พึงได้
อาหารที่สบาย (ถูกโรค) เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไป
สู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกลพึงเห็นเขา บุรุษนั้นพึงเข้าไปตั้งความกรุณา
ความเอ็นดู ควานอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คน ๆ นี้พึงได้อาหารที่สบาย
เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า คน ๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ ที่นี้เลย แม้ฉันใด
บุคคลใดเป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทาง
วาจาไม่บริสุทธิ์และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร
ภิกษุพึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลแม้เห็น
ปานนี้ว่า โอท่านผู้นี้พึงละกายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว

อบรมวจีสุจริต พึงละมโนทุจริตแล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตายไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความ
เลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร
เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่มีน้ำใส มีน้ำอร่อยดี มีน้ำเย็น มีน้ำขาว มีท่าน้ำ
ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ดาดาษไปด้วยต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ บุคคลผู้เดินทางร้อน
อบอ้าว เหนื่อย อ่อน ระหายน้ำ เขาพึงลงสู่สระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง
แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น แม้ฉันใด บุคคลใด
เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัย
นั้น แม้การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยการอันสมควร ส่วนใดของ
เขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตใน
บุคคลนั้นอย่างนี้. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใส
โดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่
ภิกษุโดยประการทั้งปวง 5 ประการนี้แล.
จบทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยอาฆาตวินยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า อาฆาตปฏิวินยะ เพราะความระงับอาฆาตในบุคคล 5 เหล่า
นั้นบ้าง เพราะควรระงับอาฆาตด้วยธรรม 5 เหล่านั้นบ้าง. จริงอยู่ บทว่า
ปฏิวินยา นี้เป็นชื่อของวัตถุที่ควรระงับบ้าง เหตุที่ควรระงับบ้าง. ทั้งสอง
อย่างนั้นก็ถูกในที่นี้. ก็บุคคลทั้งหลาย 5 เป็นปฏิวินยวัตถุ (วัตถุที่ควรระงับ)
ข้อปฏิบัติ 5 ด้วยอุปมา 5 ข้อ ชื่อปฏิวินยการณะ (เหตุที่ควรระงับ). บทว่า
ลภติ จ กาเลน กาลํ เจตโต วิวรํ เจตโส ปสาทํ ความว่า เขายัง
ได้ช่อง กล่าวคือ โอกาสที่จิตอันเป็นสมถะและวิปัสสนาเกิดได้และความผ่องใส
กล่าวคือความเป็นผู้ผ่องใสด้วยศรัทธาเป็นครั้งคราว.
บทว่า รถิยาย ได้แก่ ระหว่างวิถี. บทว่า นนฺตกํ ได้แก่ ท่อน
ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า นิคฺคหิตฺวา ได้แก่ เหยียบแล้ว. บทว่า โย ตตฺถ สาโร
ได้แก่ ส่วนใดในผ้าผืนนั้นยังดีอยู่. บทว่า ตํ ปริปาเตตฺวา ได้แก่ ฉีก
ส่วนนั้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นว่าผู้อยู่ด้วยเมตตา ดุจภิกษุ
ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บุคคลผู้มีเวรดุจผ้าขี้ริ้วบนถนน ความเป็นผู้มีกาย
สมาจารไม่บริสุทธิ์ดุจท่อนผ้าเปื่อย ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดุจท่อนผ้า
ยังดี พึงเห็นว่าเวลาที่ไม่ใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ ใส่ใจถึง
ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ดับจิตตุบาทในคนที่เป็นศัตรูกันแล้วอยู่อย่าง
สบาย ดุจเวลาที่ทิ้งท่อนผ้าเปื่อย ถือเอาผ้าท่อนดี เย็บ ย้อมแล้วห่มจาริกไป.
บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺธ ได้แก่ ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม.
บทว่า มมฺมปเรโต ได้แก่ เหงื่อไหลเพราะร้อน. บทว่า กิลนฺโต ได้แก่